วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

1. จงอธิบายความหมายของ  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ คือ ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ตลอดจนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย และมากมายทั่วทุกแห่ง อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้ใกล้ตัวจนไกลตัวสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่รู้จบ รวมทั้งสามารถบูรณาการเข้ากับระบบการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

2. แหล่งทรัพยาการการเรียนรู้มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มี 5 ประเภท คือ

1.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น


 (เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์)
จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถ
วัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ,
เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก
และผลงานศิลปะที่วัดร่องขุน ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น
และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องขึ้นเป็น
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ.2554

(นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว)
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขหลายสมัย
เป็นนายแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และการแพทย์สมัยใหม่
ผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ

2.)  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ  หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ ยกตัวอย่างเช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้น
(เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งจ.กาญจนบุรี

3.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้  2  ประเภท  คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น  อุปกรณ์  เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ 
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น  หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา  เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงานกลุ่ม  การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง

4.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่  หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง ตัวอย่างเช่น


(พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยภูเก็ต)

5.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หมายถึง สารสนเทศที่มีการจัดระบบนำเสนอสาระข้อมูลในรูปแบบสื่อประสมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาช่วยในการจัดการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกคนในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

3. โกฮับเจ้าเก่า เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทใด และประสบความสำเร็จในเรื่องใด
ตอบ
โกฮับเจ้าเก่า เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล โกฮับเจ้าเก่าเป็นผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ



4. ให้นิสิตหาตัวอย่าง พร้อมภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ มา ประเภทละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ
1.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล 

สืบ นาคะเสถียร (31 ธันวาคม 2492 — 1 กันยายน 2533)
เป็นนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย มีชื่อเสียงจากการพยายามปกป้องแก่งเชี่ยวหลานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และการฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2.)  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ  

ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง
           ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือกลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว ป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด

3.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ 
(1) สื่อทางด้านกายภาพ 
แผ่น CD
 ซีดีมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกแบนกลม ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสงเพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้ มีทั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 และ 12 เซนติเมตร และมีรูกลมตรงกลางเรียกว่า “hub” ขนาด 15 มิลลิเมตร ซีดีแผ่นหนึ่งมีความจุข้อมูลตั้งแต่ 680 – 700 เมกะไบต์ สามารถเล่นได้นาน 74 – 80 นาที

(2) สื่อทางด้านวิธีการ 
หนังตะลุง
หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตา

4.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่  

ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมาย อยู่ใน อ. พิมาย จ. นครราชสีมา สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เป็นปราสาทหินบนพื้นราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยปราสาทประธานเป็นปรางค์องค์ใหญ่ สร้างด้วยหินปูนและหินทราย ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศใต้ (โดยปกติปราสาทเขมร มักสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) คงให้รับกับถนนโบราณ ซึ่งตัดตรงจากเมืองพระนครหลวงของขอมมายังปราสาทหินพิมาย หน้าบันของปราสาทเป็นภาพเล่าเรื่อง เช่น รามเกียรติ์
ภาพศิวนาฏราช  เป็นต้น

5.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Blogger
Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่างๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้ blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับ picasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน


5. มาตราที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มีอะไรบ้าง
ตอบ
1. ห้องสมุดประชาชน
          2. พิพิธภัณฑ์
          3. หอศิลป์
          4. สวนสัตว์
          5. สวนสาธารณะ
          6. สวนพฤกษศาสตร์
          7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ

6. ประเด็นการประเมินแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีอะไรบ้าง
ตอบ
           1. อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้
           2. ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
           3. วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สาหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
                   3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนาเสนอ
                   3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
                   3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
           4. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร
                   4.1 ความรู้ ความเข้าใจ
                   4.2 ทักษะ
                   4.3 อาชีพ
                   4.4 ความบันเทิง สันทนากา

7. จงอธิบายแนวทางในการใช้แหล่งทรัพยาการเรียนรู้
ตอบ
1. ใช้เป็นสื่อหลักกับการเรียนการสอน แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริง
              2.ใช้เป็นสื่อเสริมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคนทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนาไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
              3.ใช้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวคือ ให้กลุ่มผู้เรียนนั้นสามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จากัดเพศ อายุ และไม่มีหลักสูตร และการประเมินผลมาบังคับ ซึ่งเรียนรู้ได้ตามความสมัครใจ ตามอัธยาศัยที่ตนเองต้องการ
8. ในมหาวิทยาลัยบูรพา มีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมภาพประกอบ
ตอบ
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) หรือ CAI เป็นสื่อการเรียน การสอนที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเพราะนอกจากสีสันที่สวยงามแล้วยังมีลักษณะการทำงานในรูปแบบของสื่อประสม ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับสื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถาม
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นประเภทวัตถุและอาคารสถานที่


สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา หรือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือชื่อที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน เป็นสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งอยู่ในเนื้อที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบัน ภายในสถาบันฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และห้องปฏิบัติการวิจัย ภายในสถาบันฯ จัดรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานระหว่างสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์ คือมีทั้งสัตว์ที่มีชีวิตช่วยสร้างความเพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจ และมีวัตถุจัดแสดงช่วยลำดับความคิดในเชิงวิวัฒนาการและความเป็นมาของสิ่งมีชีวิต ถือเป็นความเรียมยุคบุกเบิกของเมืองไทยที่สร้างความเข้าใจใหม่ ๆ เกี่ยวกับโลกใต้ทะเล ให้สังคมไทย
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


e-learning คือ การเรียนการสอนในลักษณะหรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้นกระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ   โดยความโดดเด่นที่เห็นได้ชัดเจน เช่น มีความยืดหยุ่น คือ ผู้สอนสามารถปรับปรุงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา และสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้เรียนที่สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ โดยเฉพาะในปัจจุบัน

9. ความคาดหวังของรายวิชา
ตอบ  
ความคาดหวังของการเรียนวิชาการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ คือ นำความรู้ที่ได้เรียนนำไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเรียน ค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องต่างๆ และทางด้านการดำเนินชีวิตฯลฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และสามารถใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ในการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อ้างอิง





ภูมิปัญญาพื้นบ้าน "กะปิเคย"

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ชื่อภูมิปัญญา : กะปิเคย

ประเภทของภูมิปัญญา
         ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน  ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจาก ความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เอง จึงควรมีการสืบค้นรวบรวม ศึกษา ถ่ายทอด พัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

สถานที่ของการเก็บข้อมูล : ร้านป้าหมาย


>องค์ความรู้ที่ได้ :

  - ผู้ให้ข้อมูล คุณปรีชา ศรีปราช อายุ 60 ปี
  - ทำกะปิขายมานานกว่า 10 ปี
  - ขายส่งอยู่ที่กิโล 160 บาท

วิธีการทำกะปิเคย
  1. ใช้ตัวเคย 5 กิโลกรัม ต่อเกลืออย่างดี 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันหมักไว้นาน 2 คืน จากนั้นนำออกผึ่งแดดพอหมาด
  2. นำมาบดในเครื่องบด  พอแหลก แล้วหมักไว้ 5 คืน (การหมักขั้นตอนนี้ต้องใส่กระสอบเพื่อให้น้ำในตัวเคยออกมา)
  3. นำไปตากแดดพอหมาดโดยบี้เป็นก้อนเล็กๆ
  4. นำไปบดในเครื่องใหม่ให้เข้ากันดีจนแหลก ตีปลักเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือก้อนกลมๆ
  5. หมักไว้ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาบดอีกครั้ง
  6. นำเคยที่บดแล้วมาอัดใส่ภาชนะหมัก เช่น ไห โอ่งดินเผา(ใส่โอ่งโดยอัดกะปิจนเต็มแน่น ปิดด้วยผ้าพลาสติกโรยด้วยเกลือเม็ดจนเต็มพื้นที่)
  7. ตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 45 วันจึงจะนำมาปรุงอาหารได้

>กลุ่มสาระในการเรียนรู้ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี

>กลุ่มเป้าหมายหรือการเรียนรู้ : นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่  5







แผนการจัดการเรียนรู้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.สาระสำคัญ
  เข้าใจการผลิตสิ้นค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

  2. ตัวชี้วัด
  มาตรฐาน  ง  4. 1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
  ป.5/1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ  ในชุมชน

3 .จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. เข้าใจขั้นตอนการผลิตและมีประสบการณ์ในการขาย
         2. สามารถผลิตสินค้าและขายสิ้นค้าได้
         3. ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้


5.สาระการเรียนรู้

           สาระการเรียนรู้แกนกลาง
                      การทำงานให้บรรลุเป้าหมายเป็นการทำงานตามลำดับอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ความขยัน  อดทน  รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ เป็นคุณธรรมในการทำงาน

           สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
                    1.  การใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่น
                    2.  การผลิตสินค้าท้องถิ่น
                    3.  การขายสินค้าท้องถิ่น

6. แนวทางบูรณาการ
           นำความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นมาผลิตสิ้นค้าและขาย

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
        1. ครูแจ้งตัวชี้วัดช่วงชั้นและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
        2. ครูและนักเรียนเดินทางไปศึกษาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่นนอกสถานที่
        3. วิทยากรพูดเกี่ยวกับประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการผลิตกะปิ
        4. วิทยากรอธิบายให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับวิธีการทำกะปิ
        5. ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้มาผลิตกะปิที่โรงเรียนตามขั้นตอนที่ได้เรียนมา
        6. ครูให้นักเรียนตอบคำถามในบทเรียน
        7. ครูให้นักเรียนนำกะปิที่รวมกันผลิตไปขายยังชุมชน
        8. ครูและนักเรียนสรุปความรู้ที่ได้จากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผลิตสิ้นค้า และขายครูคอยให้คำปรึกษาและสังเกตพฤติกรรม

8. กิจกรรมเสนอแนะ
       ครูคอยให้คำปรึกษาและสังเกตพฤติกรรม


9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้  
      1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่ผลิตกะปิ 
      2. ตลาดและชุมชน



การประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้าน “จักจั่น”

จักจั่น

ขั้นตอนการประดิษฐ์



1.เคี่ยวยางสนให้เหลว














2.นำแท่งไม้ไผ่ชุบที่ปลายไม้ให้ยางสนเคลือบที่ปลายไม้

3.นำเส้นเอ็นมาผูกที่ปลายแท่งไม้ไผ่ด้านที่เคลือบยางสนไว้


4.ตัดไม้ไผ่เป็นแว่น ขนาดยาว 1 นิ้ว

5.นำกระดาษสีน้ำตาลทากาวแล้วติดหุ้มด้านบนของไม้ไผ่ที่ตัดขวางเป็นแว่น

6.จากนั้นตกแต่งด้านข้างให้ให้สวยงามด้วยกระดาษสีต่าง ๆ


 7.เจาะรูตรงกลางหลังกาวแห้งแล้ว

8.ร้อยเส้นเอ็นอีกด้านเข้าไปในช่องที่เจาะรูไว้แล้วนำไม้กลัดมาผูกกับเส้นเอ็น ตรงกลางเพื่อกันไม่ให้เส้นเอ็นหลุดจากไม้ไผ่ที่ตกแต่งไว้








9.จะได้จักจั่นของเล่น











สถานที่ผลิต
256/45 ม.3 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 21130 (บ้านของนางสาวศุภมาส ทรัพย์ชัชวาล)


วัสดุการผลิต
1. ไม้ไผ่เหลาเป็นแท่งเท่าไม้ตะเกียบ

2. ไม้ไผ่ตัดขวางเป็นแว่นขนาดยาว 1 นิ้ว

3. กระดาษสีน้ำตาล ตัดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว

4. ไม้กลัดขนาดยาว    0.5 นิ้ว

5. กระดาษสีต่าง  ๆ

6. เส้นเอ็นเบอร์  30

7. ยางสนเคี่ยวให้เหลว

8. กาวลาเท็กซ์

แหล่งข้อมูลได้มาจากใคร
ชื่อเว็บ : gotoknow.org
ชื่อเรื่อง : ของเล่นภูมิปัญญาไทย
URL: http://gotoknow.org/blog/chok/250967
วัน/เดือน/ปี : 11/12/2009
เป็นผลงานของ นายโชคชัย สิรินพมณี

วิธีการเล่น
>> แกว่งไม้ให้ตัวทรงกระบอก หมุนรอบๆไม้ อย่างรวดเร็ว แล้วก็จะเกิดเสียง คล้าย แมลงจั๊กจั่น

ลักษณะการเกิดเสียง
>> เสียงเกิดขึ้นขณะเหวี่ยงกระบอกให้หมุน ทำให้เส้นเอ็นที่ปลายไม้เสียดสีกับยางสน จากนั้นเสียงก็เดินทางผ่านตัวกลางคือเส้นเอ็นมาที่กระบอก ทำให้เสียงดังขึ้น โดยเสียงที่เกิดขึ้น จะมีลักษณะคล้ายเสียงจักจั่น



วิธีการซ่อมแซม
                ในกรณีที่กระดาษขาด ให้นำกระดาษมาตัดเป็นวงกลมแล้วแปะกาวติดลงไปใหม่ให้เหมือนเดิม เช่นเดียวกันหากเส้นเอ็นขาดก็ให้ตัดเส้นเอ็นใหม่แล้วนำไปผูกกับยางสน ส่วนกรณีที่เสียงไม่ดัง ให้ดูว่าเส้นเอ็นกับยางสนนั้นมีช่องว่างอะไรไหม เพราะเสียงจะเกิดจากเส้นเอ็นที่ปลายไม้เสียดสีกับยางสน

อ้างอิง

ขวัญชนก ลีลาวณิชไชย.(ม.ป.ป.).ของเล่น 9 อย่างกับหลักการเกิดเสียง.เข้าถึงได้จาก: http://rescom.trf.or.th/display/keydefault.aspx?id_colum=1976 (วันที่สืบค้นข้อมูล 15 มิถุนายน 2556).
โชคชัย สิรินพมณี.(2552).การประดิษฐ์ของเล่นจั๊กจั่น.เข้าถึงได้จาก: http://www.gotoknow.org/posts/250967 (วันที่สืบค้นข้อมูล 15 มิถุนายน 2556).