วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้น "สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง"

1. จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
            แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบตลอดชีวิตของกระทรวงศึกษาธิการ รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสถานที่ โดยตาม มาตรา 25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ระบุประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้  8 ประแภท ดังนี้
                ประเภทที่ 1. ห้องสมุดประชาชน
ประเภทที่ 2. พิพิธภัณฑ์
ประเภทที่ 3. หอศิลป์
ประเภทที่ 4. สวนสัตว์
ประเภทที่ 5. สวนสาธารณะ
ประเภทที่ 6. สวนพฤกษศาสตร์
ประเภทที่ 7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทที่ 8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
ตอบ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบสวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง
จัดอยู่ในประเภท สวนสาธารณะ

2. จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ  สถานที่ตั้ง/ความเป็นมา/ ส่วนในการนำเสนอ/ภาพประกอบ
ตอบ
            จากที่ได้รับหัวข้อจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบตลอดชีวิตของกระทรวงศึกษาธิการคือ
สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง
                ชื่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบ  สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง
                สถานที่ตั้ง สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งอยู่บริเวณศูนย์บำรุงรักษาและบ้านพัก ปตท. บนถนนทางหลวงหมายเลข 3191 ต.มาบข่า กิ่งอ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง


ความเป็นมาสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง
เพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรของชาติให้เกิดประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง ปตท. จึงได้จัดทำสวนสมุนไพรขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2527-2528 ณ บริเวณศูนย์บำรุงรักษาและบ้านพักพนักงาน ตำบลมาบข่า กิ่งอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง บนเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ โดยรวบรวมสมุนไพรพันธุ์ต่าง ๆ ที่แพทย์แผนโบราณเคยใช้ได้ผล มาปลูกไว้ให้ได้มากที่สุด และได้น้อมเกล้าฯ ถวายสวนสมุนไพรแห่งนี้แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงใช้ประโยชน์ตามพระราชอัธยาศัย พร้อมทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามว่า "สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" และในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณวลัยลักษณ์ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงประกอบพิธีเปิดป้ายสวนสมุนไพร พร้อมกันนั้นทุกพระองค์ได้ทรงปลูกต้นไม้ (ต้นจันทน์เทศ) ไว้เป็นอนุสรณ์สัญลักษณ์อันประเสริฐ และเป็นมงคลยิ่ง ณ สวนแห่งนี้
สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากจะเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรนานาชนิดแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตสมุนไพรบางประเภท เพื่อการทดลองค้นคว้าของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชุมชนชาวระยอง ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปมาตลอด 20 ปี
                จวบจนวารดิถีอันเป็นสิริมงคล เพื่อเทิดพระเกียติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา ในปี 2548 ปตท. จึงได้ดำเนินการพัฒนาสวนสมุนไพร ปรับปรุงอาคารเฉลิมพระเกียติ
ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสวนให้เป็นแหล่งภูมิปัญญาเอนกประสงค์ที่สร้างความร่มรื่นสวยงามยิ่งขึ้น ให้กับประชาชนทั่วไป พนักงานและชุมชนรวบข้าง สามารถใช้ประโยชน์จากสวนแห่งนี้ได้อย่างมีความสุขและสะดวกสบาย
เพิ่มคุณค่าในการเป็นแหล่งมรดกทางปัญญาและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะสร้างเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชุมชมสังคมไทย บนวัตถุประสงค์สำคัญหลัก ๆ อยู่ 4 ประการ คือ

1. เป็นแหล่งรวบรวมพืชสมุนไพร เพื่อให้เป็นศูนย์ความรู้ในวิทยาการแขนงนี้
2. เป็นแหล่งผลิตและทดลองพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองทั้งของหน่วยราชการ เอกชน และสถาบันต่าง ๆ
3. เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่หลากหลายสำหรับเยาวชน และผู้สนใจ
4. เป็นสวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

ด้วยความมุ่งมั่นในการทำนุบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องจริงจังกว่าสองทศวรรษ ปัจจุบันพืชพันธุ์ในสวนสมุนไพรในพื้นที่ทั้งสิ้น 60 ไร่ มีพันธุ์ไม้สมุนไพรถูกรวบรวมไว้กว่า 260 ชนิด สามารถจำแนกตามสรรพคุณการรักษาโรคตามคัมภีร์ตำรายาไทยโบราณออกได้เป็น 20 กลุ่ม โดยในระยะเวลาที่ผ่านมา ปตท. ได้ดำเนินการดูแลรักษา ด้วยความสมบูรณ์พร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภค เครื่องมืออุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ เพื่อให้สมดังเจตนารมณ์ พร้อมทั้งขยายความร่วมมือ โดยประสานงานกับหน่วยงาน สถาบัน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ขยายขอบเขตงานสู่งานรวบรวมพันธุ์ งานปลูกสมุนไพร เพื่อแปรรูปและการศึกษางานทดลองแปรรูปสมุนไพร และศึกษาคุณภาพมาตรฐานของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด





              เนื่องจากสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพื้นที่กว้างขวางจึงมีบริการพาชมสถานที่ด้วยสโลแกนที่ว่า รื่นรมย์ชมพรรณไม้กับรถ NGV ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายนะครับแต่มีบริการเป็นรอบๆ
                

                ชมนิทรรศการ ห้องบ้านหมอยา คุณจะได้ความรู้เรื่องยาสมุนไพรของภูมิปัญญาไทย





รวมภาพบรรยากาศ
สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง







 2.2 ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก

สำหรับเยาวชน ประชาชนทั่วไป พนักงาน ชุมชนรวบข้าง และผู้สนใจ

      2.3.1 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
                  2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ
                        รูปแบบการบรรยาย ในสถานที่จริง ณ สมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง

       3.2.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน

                         วิธีการเรียนรู้ด้วยการได้ฟังการบรรยาย และได้เห็นของจริงจากสถานที่จริง

       2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย

                         2.3.1 การศึกษาในระบบ  สามารถเชื่อมโยงโดยใช้เป็นสื่อรองโดยให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนศึกษาและเรียนรู้ ณ สถานที่จริงนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน โดยสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
                                2.3.2 การศึกษานอกระบบ สามารถเชื่อมโยงโดยการจัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้
                                2.3.3 การศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเชื่อมโยงโดยการเปิดให้เยี่ยมชม สำหรับประชาชนทั่วไป
                                   
2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร

            ในการเรียนรู้นั้นสามารถเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทดลองทั้งของหน่วยราชการ เอกชน
  
และสถาบันต่าง ๆนากจากนี้ยังให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ พืชสมุนไพรสำหรับเยาวชน และผู้ที่สนใจ
และ เป็นสวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน
               

แหล่งอ้างอิง

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประเภทแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มี 5 ประเภท คือ

1.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น
(เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์)
จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถ
วัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ,

เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก

และผลงานศิลปะที่วัดร่องขุน ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น
และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องขึ้นเป็น                   
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ.2554



(นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว)
                   อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขหลายสมัยเป็นนายแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และการแพทย์สมัยใหม่ผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ


   2.)  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ  หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ ยกตัวอย่างเช่น  ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้น


(เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
                     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการยกย่องให้เป็นผืนป่าอันยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ ๓ แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง ๖,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๗๕๐ ไร่ อยู่ภายในเขต จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ



(ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี)
   ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือกลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว ป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด
3.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้  2  ประเภท  คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น  อุปกรณ์  เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น


(แผ่น CD)

 ซีดีมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกแบนกลม ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสงเพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้ มีทั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 และ 12 เซนติเมตร และมีรูกลมตรงกลางเรียกว่า “hub” ขนาด 15 มิลลิเมตร ซีดีแผ่นหนึ่งมีความจุข้อมูลตั้งแต่ 680 – 700 เมกะไบต์ สามารถเล่นได้นาน 74 – 80 นาที

(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ 
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น  หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา  เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงานกลุ่ม  การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง



(หนังตะลุง)

หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตา

4.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่  หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง ตัวอย่างเช่น


(พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยภูเก็ต)
                    โดยภายในพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยภูเก็ตมีการจัดเรียงหอยเป็นหมวดหมู่ ซึ่งประกอบด้วย ฟอสซิล เปลือกหอย อายุหลายร้อยล้านปี เปลือกหอยยักษ์น้ำหนักกว่า 250 กิโลกรัม แอมโมไนท์ขนาดใหญ่เกือบเท่าล้อรถ ไข่มุกสีทองหนัก 140 กะรัต 
(ปราสาทหินพิมาย)
ปราสาทหินพิมาย อยู่ใน อ. พิมาย จ. นครราชสีมา สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เป็นปราสาทหินบนพื้นราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยปราสาทประธานเป็นปรางค์องค์ใหญ่ สร้างด้วยหินปูนและหินทราย ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศใต้ (โดยปกติปราสาทเขมร มักสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) คงให้รับกับถนนโบราณ ซึ่งตัดตรงจากเมืองพระนครหลวงของขอมมายังปราสาทหินพิมาย หน้าบันของปราสาทเป็นภาพเล่าเรื่อง เช่น รามเกียรติ์

ภาพศิวนาฏราช  เป็นต้น
5.) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หมายถึง สารสนเทศที่มีการจัดระบบนำเสนอสาระข้อมูลในรูปแบบสื่อประสมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาช่วยในการจัดการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกคนในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

(Blogger)
Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่างๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้ blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับ picasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน
 (youtube)
 youtube หรือ www.youtube.com แน่นอนเลยทีเดียวไม่มีใครปฏิเสฐได้อย่างแน่นอนสำหรับนักท่องเน็จที่จะบอกว่าไม่รู้จัก youtube ซึ่งเป็นเว็บฝากไฟล์ VDO ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้ ที่ทุกท่านสามารถนำไฟล์ VDO จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านไปฝากไว้บน server ของ youtube แล้วแชร์ให้เพื่อนๆของคุณได้ชมนั่นเอง