วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้น "สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง"

1. จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
            แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบตลอดชีวิตของกระทรวงศึกษาธิการ รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสถานที่ โดยตาม มาตรา 25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ระบุประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้  8 ประแภท ดังนี้
                ประเภทที่ 1. ห้องสมุดประชาชน
ประเภทที่ 2. พิพิธภัณฑ์
ประเภทที่ 3. หอศิลป์
ประเภทที่ 4. สวนสัตว์
ประเภทที่ 5. สวนสาธารณะ
ประเภทที่ 6. สวนพฤกษศาสตร์
ประเภทที่ 7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภทที่ 8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
ตอบ
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบสวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง
จัดอยู่ในประเภท สวนสาธารณะ

2. จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ  สถานที่ตั้ง/ความเป็นมา/ ส่วนในการนำเสนอ/ภาพประกอบ
ตอบ
            จากที่ได้รับหัวข้อจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบตลอดชีวิตของกระทรวงศึกษาธิการคือ
สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง
                ชื่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบ  สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง
                สถานที่ตั้ง สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งอยู่บริเวณศูนย์บำรุงรักษาและบ้านพัก ปตท. บนถนนทางหลวงหมายเลข 3191 ต.มาบข่า กิ่งอ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง


ความเป็นมาสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง
เพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรของชาติให้เกิดประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง ปตท. จึงได้จัดทำสวนสมุนไพรขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2527-2528 ณ บริเวณศูนย์บำรุงรักษาและบ้านพักพนักงาน ตำบลมาบข่า กิ่งอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง บนเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ โดยรวบรวมสมุนไพรพันธุ์ต่าง ๆ ที่แพทย์แผนโบราณเคยใช้ได้ผล มาปลูกไว้ให้ได้มากที่สุด และได้น้อมเกล้าฯ ถวายสวนสมุนไพรแห่งนี้แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงใช้ประโยชน์ตามพระราชอัธยาศัย พร้อมทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามว่า "สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" และในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณวลัยลักษณ์ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงประกอบพิธีเปิดป้ายสวนสมุนไพร พร้อมกันนั้นทุกพระองค์ได้ทรงปลูกต้นไม้ (ต้นจันทน์เทศ) ไว้เป็นอนุสรณ์สัญลักษณ์อันประเสริฐ และเป็นมงคลยิ่ง ณ สวนแห่งนี้
สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากจะเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรนานาชนิดแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตสมุนไพรบางประเภท เพื่อการทดลองค้นคว้าของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชุมชนชาวระยอง ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปมาตลอด 20 ปี
                จวบจนวารดิถีอันเป็นสิริมงคล เพื่อเทิดพระเกียติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา ในปี 2548 ปตท. จึงได้ดำเนินการพัฒนาสวนสมุนไพร ปรับปรุงอาคารเฉลิมพระเกียติ
ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสวนให้เป็นแหล่งภูมิปัญญาเอนกประสงค์ที่สร้างความร่มรื่นสวยงามยิ่งขึ้น ให้กับประชาชนทั่วไป พนักงานและชุมชนรวบข้าง สามารถใช้ประโยชน์จากสวนแห่งนี้ได้อย่างมีความสุขและสะดวกสบาย
เพิ่มคุณค่าในการเป็นแหล่งมรดกทางปัญญาและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะสร้างเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชุมชมสังคมไทย บนวัตถุประสงค์สำคัญหลัก ๆ อยู่ 4 ประการ คือ

1. เป็นแหล่งรวบรวมพืชสมุนไพร เพื่อให้เป็นศูนย์ความรู้ในวิทยาการแขนงนี้
2. เป็นแหล่งผลิตและทดลองพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา เพื่อใช้ประโยชน์ในการทดลองทั้งของหน่วยราชการ เอกชน และสถาบันต่าง ๆ
3. เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่หลากหลายสำหรับเยาวชน และผู้สนใจ
4. เป็นสวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

ด้วยความมุ่งมั่นในการทำนุบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องจริงจังกว่าสองทศวรรษ ปัจจุบันพืชพันธุ์ในสวนสมุนไพรในพื้นที่ทั้งสิ้น 60 ไร่ มีพันธุ์ไม้สมุนไพรถูกรวบรวมไว้กว่า 260 ชนิด สามารถจำแนกตามสรรพคุณการรักษาโรคตามคัมภีร์ตำรายาไทยโบราณออกได้เป็น 20 กลุ่ม โดยในระยะเวลาที่ผ่านมา ปตท. ได้ดำเนินการดูแลรักษา ด้วยความสมบูรณ์พร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภค เครื่องมืออุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ เพื่อให้สมดังเจตนารมณ์ พร้อมทั้งขยายความร่วมมือ โดยประสานงานกับหน่วยงาน สถาบัน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ขยายขอบเขตงานสู่งานรวบรวมพันธุ์ งานปลูกสมุนไพร เพื่อแปรรูปและการศึกษางานทดลองแปรรูปสมุนไพร และศึกษาคุณภาพมาตรฐานของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด





              เนื่องจากสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพื้นที่กว้างขวางจึงมีบริการพาชมสถานที่ด้วยสโลแกนที่ว่า รื่นรมย์ชมพรรณไม้กับรถ NGV ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายนะครับแต่มีบริการเป็นรอบๆ
                

                ชมนิทรรศการ ห้องบ้านหมอยา คุณจะได้ความรู้เรื่องยาสมุนไพรของภูมิปัญญาไทย





รวมภาพบรรยากาศ
สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง







 2.2 ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก

สำหรับเยาวชน ประชาชนทั่วไป พนักงาน ชุมชนรวบข้าง และผู้สนใจ

      2.3.1 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
                  2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ
                        รูปแบบการบรรยาย ในสถานที่จริง ณ สมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดระยอง

       3.2.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน

                         วิธีการเรียนรู้ด้วยการได้ฟังการบรรยาย และได้เห็นของจริงจากสถานที่จริง

       2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย

                         2.3.1 การศึกษาในระบบ  สามารถเชื่อมโยงโดยใช้เป็นสื่อรองโดยให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนศึกษาและเรียนรู้ ณ สถานที่จริงนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน โดยสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
                                2.3.2 การศึกษานอกระบบ สามารถเชื่อมโยงโดยการจัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้
                                2.3.3 การศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเชื่อมโยงโดยการเปิดให้เยี่ยมชม สำหรับประชาชนทั่วไป
                                   
2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร

            ในการเรียนรู้นั้นสามารถเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทดลองทั้งของหน่วยราชการ เอกชน
  
และสถาบันต่าง ๆนากจากนี้ยังให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ พืชสมุนไพรสำหรับเยาวชน และผู้ที่สนใจ
และ เป็นสวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน
               

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น