วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนวโน้มการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1.ให้นิสิตบอกวิธีการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ตอบ

               1. ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวซึ่งได้มีการจัดระบบในการให้บริการบนเว็บไซต์ซึ่งอาจจะมีการออกแบบและเขียนเว็บไซต์ดังกล่าวด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) ภาษา CSS (ย่อมาจาก Cascading Style Sheets) หรือภาษา XHTML (ย่อมาจาก Extensible HyperText Markup Language) เป็นต้น สาหรับโปรแกรม Web Browser ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและในปัจจุบัน เช่น Internet Explorer Mozilla Firefox และ Google Chrome เป็นต้น


               2. ใช้โปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) หรือทับศัพท์ เสิร์ชเอนจินซึ่งเป็นโปรแกรมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ข้อมูลที่ต้องการค้นหา ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้ทั้งข้อความ รูปภาพ สื่อมัลติมิเดีย ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ หรือข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ ตัวอย่างโปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูลที่ให้บริการ ได้แก่ http://www.google.com นิยมมากที่สุด, http://www.yahoo.com, http://www.bing.com, http://www.altavista.com/, http://www.thaifind.com/, http://www.ixquick.com/ , http://www.thaiseek.com/, http://www.thaiall.com/, http://www.lycos.com/, http://www.excite.com/ เป็นต้น



2.URL คืออะไร มีประโยชน์อย่่างไรกับ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ
              URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในอินเตอร์เน็ต เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
              เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะจัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) โดยผู้ใช้สามารถระบุที่อยู่ของทรัพยากรบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า URLs (Uniform Resource Locators) ซึ่งมีส่วนประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
              1.1 โปรโตคอล (Protocal) คือ แหล่งที่อยู่ของทรัพยากรซึ่งโปรโตคอลพื้นฐานสาหรับโปรแกรมค้นดูเว็บ คือ http
              1.2 ชื่อโดเมน (Domain name) คือ ชื่อที่ใช้เรียกเพื่อระบุลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส (IP-Address) ของชื่อดังกล่าว ซึ่งมีผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้ เช่น www.buu.ac.th, www.ch3.com เป็นต้น ซึ่งชื่อโดเมนนี้จะมีการจัดประเภทของหน่วยงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจึงจาเป็นต้องรู้ชื่อโดเมนส่วนสุดท้ายซึ่งจะมีการคั่นด้วยมหัพภาค (.) หรือจุด (Dot) ซึ่งเรียกโดเมนส่วนสุดท้ายนี้ว่า ชื่อโดเมนในระดับบนสุด (Top Level Domain : TLD)


               มีประโยชน์ต่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ URL จะช่วยเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง url address ของ web browser เช่น จะเข้าเว็บ google.comก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือ จะพิมพ์ google.com ก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

3. หลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
ตอบ
               ข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมายมหาศาลซึ่งในการสืบค้นข้อมูลนั้นต้องใช้วิจารณญาณเพื่อการตรวจสอบและประเมินเพื่อเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดในการนาไปใช้ ดังนั้นประเด็นในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 3 ประเด็น วัตถุประสงค์ความต้องการในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้ คุณภาพของเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่ และเนื้อหาที่ใช้ในการเผยแพร่ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ประเมินวัตถุประสงค์ความต้องการในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ประกอบด้วย
1.1 ผู้ใช้ต้องวิเคราะห์ความต้องการของตนในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้
1.2 ผู้ใช้แยกแยะประเด็น และเลือกหัวข้อที่ต้องการสืบค้น
2. พิจารณาด้านคุณภาพเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่ ได้แก่
2.1 ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ใน เว็บไซต์หรือไม่
2.2 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวนั้นเป็นสาระเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ใน การสร้าง หรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์หรือไม่
2.3 เว็บไซต์ดังกล่าวได้ให้ที่อยู่ e-mail address ในการให้ผู้อ่านติดต่อ สอบถามหรือไม่ หรือสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้หรือไม่
2.4 เว็บไซต์ดังกล่าวสามารถเชื่อมโยง (link) ไปยังเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึง ได้หรือไม่
2.5 เว็บไซต์ดังกล่าวมีการปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องหรือไม่
2.6 เว็บไซต์ดังกล่าวมีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น
2.7 เว็บไซต์ดังกล่าวมีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
2.8 เว็บไซต์ดังกล่าวควรมีการระบุข้อความว่า เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือระบุแหล่งที่ให้การสนับสนุนในการสร้างเว็บไซต์
2.9 เว็บไซต์ดังกล่าวมีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
3. พิจารณาด้านเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ที่นาเสนอ ได้แก่ การใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

3.1 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมีการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือมีการอ้างอิง เนื้อหาที่นาเสนอบนเว็บไซต์หรือไม่
3.2 เนื้อหามีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์
3.3 เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม
3.4 เนื้อหาข้อมูลสารสนเทศระบุวันเวลาในการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุดหรือไม่
3.5 เนื้อหาดังกล่าวในข้อมูลสารสนเทศมีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์หรือไม่
3.6 คุณภาพของเนื้อหาสาระในการเขียนเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ มีความถูกต้อง ประกอบด้วย
3.6.1 สานวนภาษาที่ใช้ในเขียนเพื่อการสื่อสารสารสนเทศบนเว็บไซต์ควรใช้ภาษาที่ถูกต้อง ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และใช้ภาษาที่เป็นทางการ สละสลวย และสุภาพ โดยไม่ใช้ภาษาปากหรือภาษาพูดที่ไม่สุภาพ
3.6.2 ไม่ควรมีคาสะกดที่ผิดพลาดในข้อความที่เผยแพร่บนสารสนเทศเว็บไซต์
3.7 เนื้อหาสารสนเทศบนเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีความลาเอียงในการนาเสนอสาระ หรือการแสดงความคิดเห็น โดยควรใช้ข้อเท็จจริงในการสนับสนุนการวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นดังกล่าว

 4. Virtual Field Trip คืออะไร
ตอบ
             การศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง หมายถึง (Virtual Field Trip) เป็นการจาลองแบบสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงหรือสถานที่จริงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทาให้ผู้เรียนได้เห็นจริงและเข้าใจง่าย

  5. จงบอกความหมายของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง  พร้อมยกตัวอย่างด้วยการทำ Link เว็บพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงมาคนละ เว็บไซต์

ตอบ
             พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual  museum)  คือรูปแบบของการจัดนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ดั้งเดิมที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้สามารถดึงดูดความสนใจให้มีผู้เข้าชมและเรียนรู้  โดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต  มาสร้างสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อผสม  ให้เป็นภาพ  3  มิติ  อาจเป็นภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้  ดูภาพได้ทุกทาง  อาจมีเสียง  คำบรรยายประกอบ  หรือเป็นวีดิทัศน์สั้น ๆ ให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสถานที่จริง  เป็นการประหยัดเวลา  พลังงาน  งบประมาณจากการที่ต้องไปชมสถานที่จริง  และยังชดเชยได้ในเรื่องของการดูวัตถุด้วยการหมุนวัตถุ  สามารถดูใกล้ ๆ ได้

 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย 360 องศา http://www.rosenini.com/thaihumanimagery/

6.จงบอกความหมายของเทคโนโลยี AR มีประโยชน์อย่างไรในการเป็นแหล่งการทรัพยากรการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ตอบ
                 เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เทคโนโลยี AR” (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานเอาโลกในความเป็นจริงและโลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน (virtual world) เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร ให้ผนวกซ้อนทับกับภาพในโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง
                เทคโนโลยี AR แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
                         1. แบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์ 
                         2. แบบที่ใช้ระบบพิกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลบนโลกเสมือนจริง 
                แบบที่แสดงอยู่นี้เป็นแบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์ซึ่งในทางเทคนิคแล้วเรียกว่า “Marker” (อ่านว่า มาร์คเกอร์) หรืออาจจะเรียกว่า “AR Code” ก็ได้ โดยใช้กล้องเว็บแคมในการรับภาพ เมื่อซอฟท์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ประมวลผลรูปภาพเจอสัญลักษณ์ที่กาหนดไว้ก็จะแสดงข้อมูลภาพสามมิติที่ถูกระบุไว้ในโปรแกรมให้เห็น เราสามารถที่จะหมุนดูภาพที่ปรากฏได้ทุกทิศทางหรือเรียกว่าหมุนได้ 360 องศา

ประโยชน์ของเทคโนโลยี AR

1.เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.ฝึกการเรียนรู้เน้นให้ผู้ใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นั้นมีส่วนร่วมจากการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง
3.เน้นให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
4.ทันสมัยและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น 

.              นอกจากจะสามารถสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนแล้ว สื่อเสริมการเรียนรู้ AR ยังจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายให้กับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่สนใจด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เมื่อได้สัมผัสกับเทคโนโลยี AR พวกเขาอาจเกิดจินตนาการ นำไปคิดต่อยอด พัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยี AR สำหรับการใช้งานในด้านอื่นๆ ต่อไปได้ เนื่องจากในปัจจุบัน ในสาขาอาชีพต่างๆ ได้มีการนำเทคโนโลยี AR มาช่วยในการทำงานมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมรถยนต์ มีการใช้เทคโนโลยี AR มาสร้างภาพเครื่องยนต์แบบสามมิติสำหรับให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้การปฏิบัติงานประกอบรถยนต์  ในด้านการแพทย์ มีการใช้เทคโนโลยี AR ในการสร้างภาพเสมือนสามมิติให้นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกใช้เครื่องมือแพทย์รักษาหรือผ่าตัดผู้ป่วยแบบไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยจริง หรือในทางธุรกิจ มีการใช้เทคโนโลยี AR ในการแสดงภาพสินค้าแบบสามมิติที่อยู่ภายในกล่องโดยที่ไม่ต้องแกะกล่อง ดังนั้น การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ สัมผัส และทดลองใช้สื่อเสริมการเรียนรู้ AR ในชั้นเรียน จะทำให้พวกเขาคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และมีความพร้อมที่เพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีประเภทนี้ เมื่อต้องเรียนในระดับสูงหรือทำงานต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น