วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน "กะปิเคย"

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ชื่อภูมิปัญญา : กะปิเคย

ประเภทของภูมิปัญญา
         ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน  ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจาก ความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เอง จึงควรมีการสืบค้นรวบรวม ศึกษา ถ่ายทอด พัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

สถานที่ของการเก็บข้อมูล : ร้านป้าหมาย


>องค์ความรู้ที่ได้ :

  - ผู้ให้ข้อมูล คุณปรีชา ศรีปราช อายุ 60 ปี
  - ทำกะปิขายมานานกว่า 10 ปี
  - ขายส่งอยู่ที่กิโล 160 บาท

วิธีการทำกะปิเคย
  1. ใช้ตัวเคย 5 กิโลกรัม ต่อเกลืออย่างดี 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันหมักไว้นาน 2 คืน จากนั้นนำออกผึ่งแดดพอหมาด
  2. นำมาบดในเครื่องบด  พอแหลก แล้วหมักไว้ 5 คืน (การหมักขั้นตอนนี้ต้องใส่กระสอบเพื่อให้น้ำในตัวเคยออกมา)
  3. นำไปตากแดดพอหมาดโดยบี้เป็นก้อนเล็กๆ
  4. นำไปบดในเครื่องใหม่ให้เข้ากันดีจนแหลก ตีปลักเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือก้อนกลมๆ
  5. หมักไว้ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาบดอีกครั้ง
  6. นำเคยที่บดแล้วมาอัดใส่ภาชนะหมัก เช่น ไห โอ่งดินเผา(ใส่โอ่งโดยอัดกะปิจนเต็มแน่น ปิดด้วยผ้าพลาสติกโรยด้วยเกลือเม็ดจนเต็มพื้นที่)
  7. ตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 45 วันจึงจะนำมาปรุงอาหารได้

>กลุ่มสาระในการเรียนรู้ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี

>กลุ่มเป้าหมายหรือการเรียนรู้ : นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่  5







แผนการจัดการเรียนรู้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.สาระสำคัญ
  เข้าใจการผลิตสิ้นค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

  2. ตัวชี้วัด
  มาตรฐาน  ง  4. 1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
  ป.5/1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ  ในชุมชน

3 .จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. เข้าใจขั้นตอนการผลิตและมีประสบการณ์ในการขาย
         2. สามารถผลิตสินค้าและขายสิ้นค้าได้
         3. ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้


5.สาระการเรียนรู้

           สาระการเรียนรู้แกนกลาง
                      การทำงานให้บรรลุเป้าหมายเป็นการทำงานตามลำดับอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ความขยัน  อดทน  รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ เป็นคุณธรรมในการทำงาน

           สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
                    1.  การใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่น
                    2.  การผลิตสินค้าท้องถิ่น
                    3.  การขายสินค้าท้องถิ่น

6. แนวทางบูรณาการ
           นำความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นมาผลิตสิ้นค้าและขาย

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
        1. ครูแจ้งตัวชี้วัดช่วงชั้นและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
        2. ครูและนักเรียนเดินทางไปศึกษาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่นนอกสถานที่
        3. วิทยากรพูดเกี่ยวกับประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการผลิตกะปิ
        4. วิทยากรอธิบายให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับวิธีการทำกะปิ
        5. ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้มาผลิตกะปิที่โรงเรียนตามขั้นตอนที่ได้เรียนมา
        6. ครูให้นักเรียนตอบคำถามในบทเรียน
        7. ครูให้นักเรียนนำกะปิที่รวมกันผลิตไปขายยังชุมชน
        8. ครูและนักเรียนสรุปความรู้ที่ได้จากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผลิตสิ้นค้า และขายครูคอยให้คำปรึกษาและสังเกตพฤติกรรม

8. กิจกรรมเสนอแนะ
       ครูคอยให้คำปรึกษาและสังเกตพฤติกรรม


9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้  
      1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่ผลิตกะปิ 
      2. ตลาดและชุมชน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น